รูมิโกะ ทาคาฮาชิ



ประวัติ

  

  เมื่อพูดถึงนักเขียนการ์ตูนผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จจากผลงานการ์ตูนแนวขำขัน โชเน็น(เด็กผู้ชาย) หลากหลายเรื่องนั้น หลายคนคงจะนึกถึง รูมิโกะ ทาคาฮาชิ ก่อนเป็นคนแรก เธอประสบความสำเร็จจากผลงานเรื่อง รันม่า1/2 ,อินุยาฉะ,ลามู,Maison Ikkoku ฯลฯ จนทำให้เธอติดทำเนียบเป็นนักเขียนการ์ตูนที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งในญี่ปุ่น นอกจากนี้ ผลงานของเธอนั้นยังถูกตีพิมพ์ออกวางจำหน่ายในหลายๆประเทศอีกด้วย กว่าจะมาถึงจุดสูงสุดของวงการนักเขียนการ์ตูนนั้น เธอได้ผ่านอะไรมาบ้างจนประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้

  รูมิโกะ ทาคาฮาชิ เกิดเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 1957 ณ จังหวัด นีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น ในวัยเด็กเธอไม่ค่อยสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับการ์ตูนเท่าไหร่ เธอเข้าศึกษาในระดับม.ปลายที่ รร.นีงาตะโจว ถึงแม้ในยามว่างเธอมักจะขีดๆเขียนๆลายเส้นบนขอบกระดาษ แต่ก็ยังไม่สนใจการ์ตูนเท่าใดนัก แต่แรงบันดาลใจที่ให้เธอหันมาฝึกเขียนการ์ตูนนั้นก็มาจากการได้เจอกับสมุดโน้ตของเพื่อนที่เต็มไปด้วยตัวการ์ตูน ทำเธอนั้นหลงใหล ทำให้เธอเข้าศึกษาต่อที่ เงคิกะ ซนจุกุ รร.สอนวาดการ์ตูนซึ่งก่อตั้งโดย คาสุโอะ โคอิเคะ ผู้แต่ง Crying Freeman และ Lone Wolf and Cub ซึ่งที่นี่เองทำให้ พรสวรรค์ด้านการแต่งการ์ตูนของรูมิโกะส่องประกาย โดยแต่งโดจินชิเรื่องแรกของเธอในปี 1975 กับผลงานเรื่อง Bye-Bye Road และ Star of Futile Dust โดยรูมิโกะก็ได้การสั่งสอนมาอย่างดีในเรื่องของการออกแบบคาแร็คเตอร์ตัวการ์ตูนให้น่าสนใจ จนกลายเป็นอิทธิพลในผลงานของเธออีกด้วย

  จากนั้น อ.รูมิโกะ เข้าสู่เส้นทางนักเขียนการ์ตูน เมื่อปี 1978 ในปีนั้นเธอก็มีผลงานเรื่อง Those Selfish Aliens, Time Warp Trouble, Shake Your Buddha, และ the Golden Gods of Poverty ซึ่งทั้งหมดนั้นลงในนิตยสารโชเน็นซันเดย์ ต่อมา อ.รูมิโกะ ก็เริ่มแต่งเรื่องยาวเป็นเรื่องแรก นั่นคือ Urusei Yatsura หรือที่บ้านเรารู้จักกันก็คือ ลามู ซึ่งผลงานเรื่องแรกของเธอนั้นก็เปิดตัวได้อย่างดีเยี่ยม จนลามูนั้นกลายเป็นหนึ่งในการ์ตูนและอนิเมแนวขำขันยอดฮิตตลอดกาลของญี่ปุ่นเลย และต่อมาก็ถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมในปี 1981

  ปี 1980 เธอแต่งเรื่อง Maison Ikkoku(บ้านพักอลเวง) ซึ่งเป็นผลงานเรื่องที่สองของเธอ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารบิ๊กสปิริต และก็ได้รับความนิยมมากจนติดทำเนียบการ์ตูนแนวโรแมนติคยอดเยี่ยมที่สุดอีกเรื่องหนึ่ง ในระหว่างที่แต่ง Maison Ikkoku เธอก็ยังคงแต่งลามูอีกด้วย จนกระทั่งถึงปี 1987

  ในปี 1987 เธอแต่ง รันม่า1/2 ซึ่งเป็นการ์ตูนเรื่องยาวเรื่องที่3 โดยรันม่านั้นก็ได้รับอิทธิพลจากการ์ตูนแนวศิลปะการต่อสู้ซึ่งฮิตมากในช่วงยุค 80-90 ด้วยการผูกเรื่องราวการต่อสู้รวมถึงมุขตลกที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้รันม่านั้นกลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของเธอเลยก็ว่าได้ แถมยังดังข้ามทวีปไปยังฝั่งยุโรปและอเมริกาอีกด้วย ต่อมา ปี 1989 รันม่าก็ถูกนำไปสร้างเป็นอนิเม โดยออกอากาศจนถึงปี1996 มีจำนวนทั้งสิ้น 96 ตอน กับ OVA 4 ตอน

  ในช่วงยุค80 นี่เอง อ.รูมิโกะ มีผลงานเรื่องสั้นจำนวนมากมาย มีส่วนหนึ่งนั้นถูกนำไปทำเป็นOVA ด้วย นั่นคือ The Laughing Target, Maris the Chojo, และ Fire Tripper หลังจากที่ ลามู กับ Maison Ikkoku จบลง เธอก็เขียนเรื่องสั้นเรื่อง Mermaid Saga ซึ่งเปลี่ยนจากแนวใสๆ กลายไปเป็นแนวมืดมน ลงตีพิมพ์เป็นช่วงๆจนกระทั่งตอนสุดท้ายที่ใช้ชื่อว่า Mermaid's Mask ในปี1994 ซึ่งการตีพิมพ์ของ Mermaid's Mask นั้น แฟนๆการ์ตูนลงความเห็นว่า เป็นผลงานของอ.รูมิโกะที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์เลยทีเดียว

  ในช่วงต้นยุค90 อ.รูมิโกะ ยังคงแต่งผลงานเรื่องสั้น ทั้ง Mermaid Saga และ One-Pound Gospel จนกระทั่งเธอตัดสินใจเขียน อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน ซึ่งเป็นผลงานเรื่องยาวเรื่องปัจจุบัน โดยได้รับอิทธิพลเนื้อเรื่องมาจาก Mermaid Saga ซึ่งผลงานเรื่องนี้ก็ได้แฝงทั้งแนวแอ็คชั่น แฟนตาซี โรแมนติค พีเรียด ฯลฯ ซึ่งมากกว่าผลงานเรื่องก่อนหน้า ปัจจุบัน อินุยาฉะลงตีพิมพ์ต่อเนื่องในนิตยสารโชเน็นซันเดย์ และกลายเป็นผลงานเรื่องที่ยาวที่สุดของเธอเลยก็ว่าได้ และ อินุยาฉะนั้นถูกนำไปทำเป็นอนิเมปี2000 และ ฉายจบในปี2004

  ในช่วงปี 2000 เป็นต้นมา ผลงานเรื่องสั้นของอ.รูมิโกะที่เคยแต่งในยุค 80 ก็ถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมอีกหลายเรื่อง (และเคยฉายทาง True Vision ช่อง Film Asia) รวมไปถึง Mermaid Saga ซึ่งออกฉายในปี 2003 จำนวนทั้งสิ้น 13 ตอน

  โดยเอกลักษณ์ผลงานของอ.รูมิโกะนั้น ก็เด่นในลักษณะความเรียบง่ายของตัวการ์ตูนที่มีลายเส้นน่ารัก และ เนื้อเรื่องที่มีความเข้มข้น ผสมกับ ความโรแมนติค และ ความตลก ตามสไตล์ของนักเขียนผู้นี้

 

ผลงาน

  

  • Urusei Yatsura (1978)
  • Maison Ikkoku (1980)
  • Mermaid Saga (1984)
  • Ranma1/2 (1987)
  • One-Pound Gospel(1987)
  • InuYasha (2000)
  • Rumic Theater
  • Rumic World

อ้างอิงจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Rumiko_Takahashi

 
free hit counter javascript